วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

นวนิยายเรื่องสร้อยทอง

  ประวัติผู้แต่ง
  สร้อยทอง

        นิมิตร ภูมิถาวร (นามสกุลเดิม ภักดี)

 เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 ที่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 
 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 3 คน 
 บิดามารดาเป็นชาวนา ชื่อ นายมั่น และนางนวม (นามสกุลเดิม ภักดี) ภูมิถาวร 
 อาชีพทำนา สมรสกับนางสมัย ภูมิถาวร เมื่อ พ.ศ.2501 
 มีบุตรธิดา 4 คน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2524
             สร้อยทอง เป็นนวนิยายขนาดสั้น ที่ดำเนินเรื่องกระชับ ปมประเด็นของเรื่องเปิด ตั้งแต่บทต้น พร้อมๆ ไปกับการปล่อย ตัวละครสำคัญๆ ออกมา การเริ่มต้นเช่นนี้ เชื้อชวนให้ผู้อ่าน ใช้จินตนาการเป็น "ผู้ประพันธ์" เรื่องควบคู่ไปด้วย ทำให้การอ่าน กับการวาดเรื่องในใจ ปะทะสังสรรค์กัน ระหว่าง "ผู้ประพันธ์ในกระดาษ" กับ "ผู้ประพันธ์ในใจ" ความสัมพันธ์นี้ มิเพียงแต่จะทำให้ เรื่องอ่านสนุก มีรสมีชาติ ในแง่ของผู้อ่านมากขึ้น เชิงการเขียนของผู้เขียน (ผู้มาจากครูในชนบท)
ช่ำชองในเรื่องเกี่ยวกับ ที่เขาสันทัดอยู่เป็นทุน ในหลาย ๆ บท เขามีฉาก บรรยายรายละเอียด เกี่ยวกับชีวิต ในชนบทอยู่มาก จนบางครั้ง อาจจะมากเกินไป แต่ก็ใช่ว่า จะเสียรสสำหรับผู้อ่าน ที่ส่วนใหญ่แล้ว เห็นเป็นเรื่องแปลกใหม่ เช่น การดักนกเขา การหากบ การไปติดต่ออำเภอ การซ่อมกระท่อม ฯลฯ ฉากชนบทเหล่านี้ บ้างก็เล่า ด้วยว่ามีค่าในตัวของมันเอง แต่โดยรวมๆ แล้ว ก็ประสานกลืนกันกับ ท้องเรื่อง
แต่ละบทของ สร้อยทอง แบ่งตามฉากเหตุการณ์ และตัวละคร ที่มีบทบาทหลัก เนื้อหาอยู่ทั้งในลักษณะที่ ปิดฉากนั้นๆ ไป ในขณะเดียวกัน ก็ "ส่งลูก"ต่อไปให้ บทที่ตามมา ได้อย่างต่อเนื่อง การแบ่งเนื้อหาทั้งเรื่อง เป็นส่วนๆ นั้น มีสัดส่วน กะทัดรัดหมาะสม การเล่าเรื่องนั้น เนิบนาบ ทำนองเดียว กับความเชื่องช้าในชนบท ทั้งๆ ที่ เหตุการณ์ที่เป็นไป อย่างไม่เร่งรีบ แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้น หนักหน่วง ในความรู้สึก ของตัวเอกของเรื่อง คนที่ไร้อำนาจในสังคม ปัญหาที่ดูเหมือนเล็กน้อย สามารถนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ และรวมสั่งสม จนเป็นเรื่องใหญ่โตได้ เรื่องจึงดำเนินไป เหมือนคลื่นใต้น้ำ ส่วนผิวน้ำ ที่สังเกตเห็นได้นั้น เรื่องไหลไปอย่างราบเรียบ น้ำเสียงของผู้เล่า เป็นน้ำเสียงของเรื่องบนผิวน้ำ เพราะฉะนั้น จึงเป็นน้ำเสียง ที่ไม่ได้มุ่งจะเร้าอารมณ์เศร้า หรือให้สงสาร ความจริงแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นประจำอยู่แล้ว ในชนบทไทย จึงเป็นเรื่อง ที่ไม่ได้เรียกน้ำตา แต่ชี้ให้รู้สึกที่จะแก้ไข



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น